พื้นที่โฆษณา

ข่าวสุขภาพ - สังเกต 7 อาการ สัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อนที่ไม่ควรปล่อยไว้

ข่าวประชาสัมพันธ์

Press Release

ชอบหน้านี้?
Admin... 8 ก.ค. 68 6.4K

ฟังข่าวนี้

พื้นที่โฆษณา

อ๊อฟ ชัยนนท์ ชวนเช็ก 7 ลักษณะอาการสัญญาณเตือนกรดไหลย้อนที่ไม่ควรมองข้าม

เชื่อว่า หลายคนอาจเคยรู้สึกท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง ไม่สบายท้อง เรอเปรี้ยวหลังมื้ออาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งหลายคนอาจมองข้ามความอันตรายไป คิดว่าไม่ใช่อาการรุนแรงอะไร แต่แท้จริงแล้ว อาการเหล่านี้ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ และควรได้รับการดูแลอย่างจริงจัง

เข้าใจกลไกการเกิดโรคกรดไหลย้อน

“โรคกรดไหลย้อน” เกิดขึ้นเมื่อกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปสู่หลอดอาหาร ซึ่งปกติแล้วร่างกายของเราจะมี "กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง" ที่ทำหน้าที่เหมือนประตูเปิด-ปิดระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร เพื่อกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นมา แต่ถ้าหูรูดนี้ คลายตัวหรือปิดไม่สนิท กรด หรือน้ำย่อยจะสามารถไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้ง่าย ทำให้เกิดการระคายเคือง อาการแสบร้อนกลางอกเรอเปรี้ยว และอาการผิดปกติอื่น ๆ

7 สัญญาณอาการโรคกรดไหลย้อน รู้ก่อนจัดการได้

คุณอ๊อฟ ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ ผู้ประกาศข่าว ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์เร่งรีบ และประสบกับโรคกรดไหลย้อนด้วยตัวเอง อยากเชิญชวนให้ทุกคนลองสังเกตตัวเองดูว่า มีอาการสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อนดังต่อไปนี้หรือไม่ โดยหากมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

  1. ท้องอืด อาหารไม่ย่อยจากกรดเกิน
  2. ไม่สบายท้อง แน่นท้อง จุกเสียด
  3. ปวดท้องช่วงบน จุกแน่นลิ้นปี่
  4. เรอเปรี้ยว
  5. คลื่นไส้ รู้สึกเหมือนมีน้ำย่อยไหลขึ้นมา
  6. แสบร้อนกลางอก
  7. แสบคอ จุกแน่นในลำคอ กลืนลำบาก

สัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน

ความสำคัญของการรักษาอย่างถูกต้อง

แม้โรคกรดไหลย้อนจะดูเหมือนเป็นอาการไม่รุนแรงในระยะแรก แต่ถ้าหากละเลย ไม่รับการรักษาอย่างถูกต้อง หรือยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง อาการสามารถลุกลาม และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้

ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และการเลือกใช้ยารักษาอย่างเหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุม และป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง (Lifestyle Modification)

บางพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำในชีวิตประจำวันเป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดกรดไหลย้อน ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ จะทำให้ต้องเผชิญกับอาการแสนทรมานอยู่บ่อยครั้งจนรบกวนคุณภาพชีวิต

  • การกินอาหารไม่เป็นเวลา
  • การกินมากเกินไปในมื้อเดียว ควรแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อ
  • การกินแล้วนอนทันที ควรเว้นระยะเวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง เพื่อรอให้อาหารย่อย
  • การกินอาหารที่กระตุ้นอาการ เช่น ของมัน ของทอด อาหารรสเผ็ด เปรี้ยว แอลกอฮอล์
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มอัดลม
  • การสูบบุหรี่บ่อย ๆ
  • การสะสมความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ

ความสำคัญของการเลือกยาที่เหมาะสม

การรักษาโรคกรดไหลย้อนให้เห็นผล ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่เพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการเท่านั้น แต่ “การเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสม” ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยควบคุมหรือบรรเทาอาการ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ทางที่ดี ควรเลือกใช้ยาลดกรดและบรรเทากรดไหลย้อนจากประเทศอังกฤษที่มี 2 กลไกการออกฤทธิ์ ทั้งปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง และสร้างชั้นแพเจล ป้องกันกรดไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร ออกฤทธิ์นาน 4 ชั่วโมง

แหล่งอ้างอิง :

การวินิจฉัยและการรักษา GERD อย่างละเอียด
การวินิจฉัยและการรักษา GERD ในบริบทของประเทศไทย

สนับสนุนโดยกาวิสคอน

เมื่อมีอาการกรดไหลย้อน ต้อง ‘กาวิสคอน’ ยาบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดไหลย้อน และลดกรดในกระเพาะอาหาร ด้วย 7 คุณสมบัติรักษาหลากหลายอาการจากกรดไหลย้อน

  1. อาหารไม่ย่อย
  2. แสบร้อนกลางอก
  3. กรดเกิน
  4. เรอเปรี้ยว
  5. เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น
  6. ใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร
  7. ใช้ได้ในผู้สูงอายุ

ด้วย 2 กลไกการออกฤทธิ์ ไม่เพียงลดกรด ปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง แต่ยังสร้างแพเจล ป้องกันกรดไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร ออกฤทธิ์นาน 4 ชั่วโมง

สัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน

ที่มา : บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย)
โพสต์ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์
เผยแพร่ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์

พื้นที่โฆษณา
ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย Admin ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์ หากบทความนี้มีความไม่เหมาะสม โปรดใช้วิจารญาณในการรับชม เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
พื้นที่โฆษณา