พื้นที่โฆษณา

พีอาร์ นิวส์ไวร์ - Johnson & Johnson เปิดตัวแพลตฟอร์ม VARIPULSE™ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มุ่งพัฒนาการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

พีอาร์ นิวส์ไวร์

PR Newswire

ชอบหน้านี้?
พีอาร์ นิวส์ไวร์ - Johnson & Johnson เปิดตัวแพลตฟอร์ม VARIPULSE™ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มุ่งพัฒนาการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แพลตฟอร์ม VARIPULSE™ เป็นระบบ Pulsed Field Ablation (PFA) รุ่นแรกที่บูรณาการเข้ากับระบบการทำแผนที่ทางไฟฟ้ากายวิภาค CARTO™ 3 อย่างสมบูรณ์แบบ ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำซ้ำ และความแม่นยำของขั้นตอนการรักษา 1,i,ii,iii,iv,v,vi,vii,viii,ix

แพลตฟอร์ม VARIPULSE™ ได้รับการอนุมัติในญี่ปุ่น ฮ่องกง จีน ออสเตรเลีย ไต้หวัน และเกาหลี

เออร์ไวน์,แคลิฟอร์เนีย, 8 กรกฎาคม 2568/PRNewswire/ - Johnson & Johnson MedTech ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม VARIPULSE™ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งใช้สำหรับทำหัตถการการจี้ด้วยสายสวนสำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเอเทรียลฟิบริลเลชัน (AFib) อันเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มักเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ โดยเกิดจากสัญญาณไฟฟ้าเกินปกติที่ไม่ประสานกันในเอเทรียลฟิบริลเลชัน x ภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหัวใจอันเนื่องมาจากสภาวะพื้นฐานและปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์ x,xi  ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจล้มเหลว และการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ

แพลตฟอร์ม VARIPULSE™ เป็นเทคโนโลยี PFA แรกที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำลายเนื้อเยื่อและการทำแผนที่โดยใช้เวิร์กโฟลว์แบบบูรณาการเดียวร่วมกับระบบ CARTO™ 3 เทคโนโลยีการทำแผนที่ไฟฟ้ากายวิภาคหัวใจแบบ 3 มิติทำให้มองเห็นได้แบบเรียลไทม์และรองรับความแม่นยำ ประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำซ้ำ รวมถึงความถูกต้องของขั้นตอนการรักษาสำหรับแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AFib)xii ช่วยให้การรักษาที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพi,ii,iii,iv,v,vi,vii โดยผู้ป่วยได้รับแสงเอกซเรย์น้อยที่สุดหรือไม่ได้รับเลยiii,xiv,xv อีกทั้งยังรองรับการสงบประสาทในระดับลึกและ/หรือระดับจิตสำนึก2,xvi,xvii

นวัตกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางคลินิกที่น่าเชื่อถือ ทั้งการทดลองทางคลินิกของ inspIRE และ admIRE สะท้อนความปลอดภัยและประสิทธิภาพอันแข็งแกร่งของแพลตฟอร์ม VARIPULSE™:

  • ในการทดลองทางคลินิกของ  inspIRE ผู้ป่วย 80% สามารถหายจากอาการกำเริบได้โดยไร้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลัก ๆ xviii
  • ในการทดลองทางคลินิกของ  admIRE ผลลัพธ์แสดงให้เห็นอัตราความสำเร็จโดยรวมของประสิทธิผลหลัก 75%, อัตราเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลัก4,xix 2.9%, ผู้ป่วย 100% ประสบความสำเร็จในการทำหัตถการเฉียบพลัน5, ผู้ป่วย 43% สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ในวันที่ทำหัตถการ และผู้ป่วย 25% ของหัตถการดำเนินการโดยไม่ใช้เครื่องเอกซเรย์ด้วยแสงฟลูออโรสโคปี6
  • ใน ทะเบียน VARIPURE ที่กำลังดำเนินการ ซึ่งมีผู้ใช้ครั้งแรก ไม่ปรากฏเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงและไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์ม รวมถึงไม่มีเหตุการณ์ทางระบบประสาทและหลอดเลือดหรือการกระตุกของหลอดเลือดหัวใจ xx

"การนำแพลตฟอร์ม VARIPULSE™ มาใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงการดูแลภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าอันเป็นเอกลักษณ์ของการผสานกับ CARTO™ แบบ 3 มิติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเวิร์กโฟลว์ของการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและปรับปรุงผลลัพธ์สำหรับผู้ป่วย" Jing Li รองประธานฝ่ายไฟฟ้าวิทยาและระบบประสาทหลอดเลือด Johnson & Johnson MedTech ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 16 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกxxi อาการและผลทางคลินิกของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ หัวใจเต้นแรง อ่อนเพลีย หายใจถี่ เจ็บหน้าอก และเวียนศีรษะxxii เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะลุกลาม การแทรกแซงตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจล้มเหลว ตลอดจนการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจxxiii

ทั้งนี้ PFA ใช้พลังงานในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อทำลายเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อความเสียหายของเนื้อเยื่อโดยรอบ อาทิ หลอดอาหาร หลอดเลือดดำในปอด และเส้นประสาทกะบังลมได้ โดยแตกต่างจากวิธีการทำลายเนื้อเยื่อแบบเดิมที่ใช้ความร้อนหรือความเย็น

" PFA เป็นพลังงานประเภทใหม่ที่มีศักยภาพในการเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิผลของการรักษาด้วยการสลายเนื้อเยื่อโดยใช้สายสวน ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับผู้ป่วย PFA เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ค่อนข้างใหม่ มีความสำคัญที่จะต้องประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในเอเชียต่อไป พร้อมทั้งต้องแน่ใจว่ามีการใช้งานอย่างเหมาะสม แต่จนถึงขณะนี้ เราทราบดีว่าการผสานเทคโนโลยี PFA เข้ากับการทำแผนที่ 3 มิติทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบขั้นตอนการรักษาได้อย่างละเอียด ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย" ดร. Yasuo Okumura7 ศาสตราจารย์และหัวหน้าแผนก รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิฮอน โรงพยาบาลอิตาบาชิ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ทิ้งท้าย

เกี่ยวกับแพลตฟอร์ม VARIPULSE™
แพลตฟอร์ม VARIPULSE™ คือระบบการทำลายเนื้อเยื่อด้วยคลื่นความถี่วิทยุของ Johnson & Johnson MedTech ซึ่งบูรณาการอย่างสมบูรณ์ อันประกอบด้วยสายสวน VARIPULSE™, เครื่องกำเนิด TRUPULSE™ และซอฟต์แวร์ระบบการทำแผนที่ไฟฟ้าหัวใจ CARTO™ 3 VARIPULSE™ ปัจจุบัน แพลตฟอร์มดังกล่าวได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชียแปซิฟิก และแคนาดา

โซลูชั่นระบบหัวใจและหลอดเลือดจาก Johnson & Johnson MedTech
Johnson & Johnson กำลังรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพซึ่งซับซ้อนและแพร่หลายที่สุดในโลก ด้วยชื่อชั้นด้านระบบหัวใจและหลอดเลือดซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านแผนที่และนำทางขั้นสูง เทคโนโลยีขนาดเล็ก ตลอดจนการทำลายเนื้อเยื่อที่แม่นยำ เราจึงสามารถรับมือกับภาวะซึ่งยังไม่มีการตอบสนองที่สำคัญ อาทิ หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เราเป็นผู้นำระดับโลกในการฟื้นฟูหัวใจ การไหลเวียนโลหิต และการรักษาความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ อีกทั้งยังเป็นผู้นำรุ่นใหม่ในการดูแลระบบประสาทและหลอดเลือดซึ่งมุ่งมั่นที่จะจัดการกับสองสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลกจากภาวะหัวใจล้มเหลวและโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม biosensewebster.com

เกี่ยวกับ Johnson & Johnson
ที่ Johnson & Johnson เราเชื่อว่าสุขภาพคือทุกสิ่ง ความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมการดูแลสุขภาพทำให้เราสามารถสร้างโลกที่ป้องกัน รักษา และบำบัดความเจ็บป่วยซึ่งซับซ้อนได้อย่างชาญฉลาด เฉพาะบุคคล และรุกรานร่างกายคนไข้น้อยลง ด้วยความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์เชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ เราจึงอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมือนใครในการคิดค้นนวัตกรรมโซลูชันการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรในปัจจุบัน เพื่อส่งมอบความก้าวหน้าในอนาคตและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวดต่อสุขภาพของมนุษยชาติ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาคส่วนเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับโลก รวมถึงความเชี่ยวชาญเชิงลึกในการผ่าตัด ศัลยกรรมกระดูกและข้อ การมองเห็น ตลอดจนโซลูชันระบบหัวใจและหลอดเลือดของเราได้ที่ https://thenext.jnjmedtech.com/ ติดตามเราบน @JNJMedTech และ LinkedIn อนึ่ง Biosense Webster, Inc. เป็นบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ของ Johnson & Johnson

ข้อควรระวังเกี่ยวกับคำชี้แจงเชิงคาดการณ์: ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้มี "คำชี้แจงเชิงคาดการณ์" ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปฏิรูปการฟ้องร้องหลักทรัพย์ส่วนบุคคล พ.ศ. 2538 เกี่ยวกับแพลตฟอร์ม VARIPULSE™ ผู้อ่านไม่ควรพึ่งพาคำชี้แจงเชิงคาดการณ์เหล่านี้ คำกล่าวเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตในปัจจุบัน หากสมมติฐานพื้นฐานพิสูจน์ได้ว่าไม่ถูกต้อง หรือมีความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่ทราบหรือไม่ทราบเกิดขึ้น ผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจแตกต่างอย่างมากจากการคาดคะเนและการคาดการณ์ของ Johnson & Johnson ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ได้แก่ แต่ไม่จำกัดเพียง ความไม่แน่นอนของความสำเร็จทางการค้า ความท้าทายต่อสิทธิบัตร การแข่งขัน รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ใหม่ ไปจนถึงสิทธิบัตรที่คู่แข่งได้รับ ความยากลำบากและความล่าช้าในการผลิต ข้อกังวลด้านประสิทธิภาพหรือความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อันส่งผลให้ต้องเรียกคืนหรือดำเนินการตามกฎระเบียบ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการปฏิรูปการดูแลสุขภาพทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและรูปแบบการใช้จ่ายของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์และบริการด้านการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแนวโน้มในการควบคุมต้นทุนการดูแลสุขภาพ สามารถดูรายการและคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยง ความไม่แน่นอน และปัจจัยอื่น ๆ ได้ในรายงานประจำปีฉบับล่าสุดของ Johnson & Johnson ในแบบฟอร์ม 10-K รวมถึงในส่วนที่มีชื่อว่า "หมายเหตุข้อควรระวังเกี่ยวกับคำชี้แจงเชิงคาดการณ์" และ "รายการ 1A ปัจจัยเสี่ยง" รวมถึงรายงานไตรมาสต่อมาของ Johnson & Johnson ในแบบฟอร์ม 10-Q และเอกสารอื่น ๆ ที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อ่านสำเนาเอกสารเหล่านี้ทางออนไลน์ได้ที่ www.sec.govwww.jnj.com หรือตามคำขอจาก Johnson & Johnson ทั้งนี้ Johnson & Johnson ปฏิเสธที่จะอัปเดตคำชี้แจงเชิงคาดการณ์ใด ๆ อันเป็นผลจากข้อมูลใหม่ เหตุการณ์หรือการพัฒนาในอนาคต

© Johnson & Johnson และบริษัทในเครือ 2568 สงวนลิขสิทธิ์ M_US_ELP_NAVI_403012

________________________________________

1

เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนที่ไม่ได้ใช้ระบบนำทาง

2

โดยอิงจากกลุ่มย่อยของผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบอย่างลึก 29 รายจากการศึกษาวิจัย inspIRE และผู้ป่วย 60 รายจากการศึกษาวิจัย inspIRE อนึ่ง ขั้นตอนที่ดำเนินการภายใต้ยาสลบเทียบกับการดมยาสลบทั่วไปมีอัตราความปลอดภัยและระยะเวลาของขั้นตอนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขั้นตอน

3

ประสิทธิผลเบื้องต้นถูกกำหนดให้เป็นการปราศจากอาการของภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเอเทรียลฟิบริลเลชัน [AF]/ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบบเอเทรียลฟิบริลเลชัน [AT]/ภาวะหัวใจเต้นเร็วแบบเอเทรียลฟลัตเตอร์ [AF]) ที่มีการบันทึก (มีอาการหรือไม่มีอาการ) เป็นเวลา 12 เดือน ซึ่งมีระยะเวลา ≥30 วินาที โดยอิงจากการติดตามจังหวะการเต้นของหัวใจในช่วงการประเมินหลังการปิดสัญญาณ (วันที่ 91-365) ตลอดจนปราศจากภาวะความล้มเหลวอื่น ๆ เช่น ไม่สามารถบล็อกทางเข้าใน PV ทั้งหมด, การทำลายซ้ำ >1 ครั้งสำหรับภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบบเอเทรียลในช่วงการปิดสัญญาณ 3 เดือน หรือการขจัดซ้ำใด ๆ ในช่วงการประเมิน การใช้สายสวนที่ไม่ต้องศึกษาเพื่อรักษา PVs และ/หรือเพื่อทำลายเป้าหมาย AF ที่ไม่ใช่ PV ของห้องบนซ้ายระหว่างขั้นตอนดัชนีหรือเพื่อทำขั้นตอนซ้ำในช่วงการปิดเครื่อง 3 เดือน การใช้ AAD คลาส I/III ใหม่หรือที่ล้มเหลวก่อนหน้านี้ในปริมาณมากขึ้น ณ ช่วงระยะเวลาการประเมิน AF/AT/AFL อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงระยะเวลาการประเมิน หรือการช็อตไฟฟ้าหัวใจโดยตรงในช่วงระยะเวลาการประเมินสำหรับ AF/AT/AFL ที่เกิดซ้ำ เป้าหมายประสิทธิภาพที่กำหนดโดยโปรโตคอลคือ 50%

4

เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลัก ได้แก่ การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หรือขั้นตอน ภาวะแทรกซ้อนในการเข้าถึงหลอดเลือดที่สำคัญหรือการมีเลือดออก กล้ามเนื้อหัวใจตาย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจอุดตัน อัมพาตเส้นประสาทกะบังลมถาวร โรคหลอดเลือดสมอง ลิ่มเลือดอุดตัน ภาวะขาดเลือดชั่วคราว อาการบวมน้ำในปอด และการบาดเจ็บของเส้นประสาทเวกัส/กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าภายใน 7 วันของขั้นตอนการทำลายดัชนี นอกจากนี้ ยังรวมถึงภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน/หัวใจทะลุซึ่งเกิดขึ้นภายใน 30 วันหลังทำหัตถการ ภาวะรูรั่วของหลอดอาหารและหัวใจห้องบนซึ่งเกิดขึ้นภายใน 90 วันหลังทำหัตถการ รวมถึงภาวะตีบของหลอดเลือดหัวใจที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในช่วงติดตามผล 12 เดือน เป้าหมายประสิทธิภาพที่กำหนดโดยโปรโตคอลคือ 12%

5

ความสำเร็จของหัตถการเฉียบพลันถูกกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมที่มีการแยกไฟฟ้าของหลอดเลือดหัวใจทั้งหมดพร้อมยืนยันการบล็อกทางเข้าเมื่อสิ้นสุดหัตถการ (n=255)

6

การสร้างภาพด้วย ICE และระบบ CARTO™ 3

7

ดร. Okumura ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับ Johnson & Johnson แต่ไม่ได้รับค่าชดเชยสำหรับแถลงการณ์นี้

________________________________________

i

Duytschaever M, De Potter T, Grimaldi M, et al. Paroxysmal Atrial Fibrillation Ablation Using a Novel Variable-Loop Biphasic Pulsed Field Ablation Catheter Integrated With a 3-Dimensional Mapping System: 1-Year Outcomes of the Multicenter inspIRE Study. Circ Arrhythm Electrophysiol. 2023;16(3):e011780. doi:10.1161/CIRCEP.122.011780 pg 4

ii

Reddy VY, Calkins H, Mansour M, Wazni O, Di Biase L, Bahu M, Newton D, Liu CF, Sauer WH, Goyal S, Iyer V, Nair D, Athill C, Hussein A, Whalen P, Melby D, Natale A; AdmIRE Trial Investigators. Pulsed Field Ablation to Treat Paroxysmal Atrial Fibrillation: Safety and Effectiveness in the AdmIRE Pivotal Trial. Circulation. 2024 Oct 8 pg 8

iii

Anter, E., Mansour, M., Nair, D.G. et al. Dual-energy lattice-tip ablation system for persistent atrial fibrillation: a randomized trial. Nat Med 30, 2303–2310 (2024). https://doi.org/10.1038/s41591-024-03022-6 pg 2

iv

Reddy VY, Lehmann JW, Gerstenfeld EP, Mugglin AS, Schneider CW, Achyutha AB, Mansour M. A randomized controlled trial of pulsed field ablation versus standard-of-care ablation for paroxysmal atrial fibrillation: The ADVENT trial rationale and design. Heart Rhythm O2. 2023 Mar 8;4(5):317-328. doi: 10.1016/j.hroo.2023.03.001. PMID: 37323994; PMCID: PMC10264259. Pg 6

v

VOLT CE Mark Study: Long-term safety and effectiveness of de novo PVI intreating AF. pg 3

vi

Scherr D, Turagam MK, Maury P, Blaauw Y, van der Voort P, Neuzil P, et al. Repeat procedures after pulsed field ablation for atrial fibrillation: MANIFEST-REDO study. Europace. 2025;2025(1):euaf012. doi:10.1093/europace/euaf012. Pg 4 results section

vii

Seemala SKR, Musikantow DR, Perdomo C, Malyshev Y, Ambesh P, Saleem M, et al. Pulsed field ablation (PFA) to treat atrial fibrillation and related arrhythmias: one-year outcomes of the VIRTUE trial. Poster PO-FP-006. Pg 1

viii

Fink T, Sciacca V, Bannmann K, et al. First experience using a novel variable loop catheter for mapping and pulsed field ablation of atrial fibrillation. Pacing Clin Electrophysiol. 2025 May;48(5):471-479. doi:10.1111/pace.15177. Epub 2025 Mar 28. PMID:40153431; PMCID:PMC12063197

ix

Fink T, Sciacca V, Bannmann K, et al. First experience using a novel variable loop catheter for mapping and pulsed field ablation of atrial fibrillation. Pacing Clin Electrophysiol. 2025 Mar 28. doi:10.1111/pace.15177. Epub ahead of print. PMID: 40153431.

x

Laizzo PA. Handbook of Cardiac Anatomy, Physiology, and Devices. 2015. Springer Science+Business Media. LLC: Switzerland

xi

Staerk L, Sherer JA, Ko D, Benjamin EJ, Helm RH. Atrial Fibrillation: Epidemiology, Pathophysiology, and Clinical Outcomes. Circ Res. 2017;120(9):1501-1517

xii

Di Biase L, Zou F, Lin AN, et al. Feasibility of Three-Dimensional Artificial Intelligence Algorithm Integration with Intracardiac Echocardiography for Left Atrial Imaging During Atrial Fibrillation Catheter Ablation. Europace. 2023 Aug 2;25(9):euad211.

xiii

Debreceni D, Janosi K, Bocz B, et al. (2023). Zero fluoroscopy catheter ablation for atrial fibrillation: a systematic review and meta-analysis. Front Cardiovasc Med;10:1178783. doi: 10.3389/fcvm.2023.1178783

xiv

Rajendra A, Hunter TD, Morales GX, et al. (2023). Steerable sheath visualizable under 3D electroanatomical mapping facilitates paroxysmal atrial fibrillation ablation with minimal fluoroscopy. J Interv Card Electrophysiol;66(2):381-388. doi: 10.1007/s10840-022-01332-8.

xv

Tahin T, Riba A, Nemeth B, et al. (2021). Implementation of a zero fluoroscopic workflow using a simplified intracardiac echocardiography guided method for catheter ablation of atrial fibrillation, including repeat procedures. BMC Cardiovasc Disord;21(1):407. doi: 10.1186/s12872-021-02219-8.

xvi

Grimaldi M, Quadrini F, Caporusso N, et al. Deep sedation protocol during atrial fibrillation ablation using a novel variable-loop biphasic pulsed field ablation catheter. Europace. 2023;25(9):euad222. doi:10.1093/europace/euad222. PMID: 37470452; PMCID: PMC10434733.

xvii

De Potter T, Grimaldi M, Duytschaever M, Anic A, Vijgen J, Neuzil P, Van Herendael H, Verma A, Skanes A, Scherr D, Pürerfellner H, Rackauskas G, Jais P, Reddy VY, et al; inspIRE Trial Investigators. Predictors of success for pulmonary vein isolation with pulsed-field ablation using a variable-loop catheter with 3D mapping integration: complete 12-month outcomes from inspIRE. Circ Arrhythm Electrophysiol. 2024;17(5):e012667. doi:10.1161/CIRCEP.123.012667. Epub 2024 Apr 24. PMID: 38655693; PMCID: PMC11111320.

xviii

Reddy V, Grimaldi M, Duytschaever M, Anic A. Predictors of Success for Pulmonary Vein Isolation with Pulsed Field Ablation Using a Variable Loop Catheter with 3D Mapping Integration: Complete 12-month outcomes from inspIRE [abstract]. In: AF Symposium.; February 2-4; Boston.

xix

Reddy V, Calkins H, Mansour M, et al. Pulsed field ablation to treat paroxysmal atrial fibrillation: safety and effectiveness in the admIRE pivotal trial. Circulation. Published online September 11, 2024. doi: 10.1161/CIRCULATIONAHA.124.070333.

xx

Bessière F, Kronborg MB, Sommer P, et al. Evaluating Safety Profile and Learning Curve With a Pulsed Field Ablation Variable Loop Circular Catheter in Procedures for AF: Observations From a Prospective, Multicenter, Postmarket Clinical Trial. Presented at HRS 2025; April 27, 2025; San Diego, CA.

xxi

Global Burden of Disease Collaborative Network (2017) Global Burden of Disease Study 2017 (GBD 2017) Results. Seattle, United States: Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME), 2017. Accessed 2019-07-16. Available from http://ghdx.healthdata.org/gbd-results-tool.

xxii

American Heart Association . (2024, August 12). What are the symptoms of atrial fibrillation?. www.heart.org. https://www.heart.org/en/health-topics/atrial-fibrillation/what-are-the-symptoms-of-atrial-fibrillation-afib-or-af

xxiii

Joglar JA, Chung MK, Armbruster AL, et al. 2023 ACC/AHA/ACCP/HRS Guideline for the Diagnosis and Management of Atrial Fibrillation: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Joint Committee on Clinical Practice Guidelines [published correction appears in Circulation. 2024 Jan 2;149(1):e167]. Circulation. 2024;149(1):e1-e156. doi:10.1161/CIR.0000000000001193

สื่อมวลชนติดต่อ :
Carlos Taveras
Ctaveras@its.jnj.com
Erin Farley
Efarley1@its.jnj.com 

โลโก้ https://mma.prnasia.com/media2/2554601/Johnson_Johnson_MedTech_Logo.jpg?p=medium600

 


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - Johnson & Johnson เปิดตัวแพลตฟอร์ม VARIPULSE™ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มุ่งพัฒนาการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4725588_TH25588_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นสมาชิกเว็บไซต์ของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย พีอาร์ นิวส์

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา